วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเภทของไอศครีม


1.ไอศกรีม ( lce Cream ) มีส่วนผสมของนม น้ำตาล ไขมันและเครื่องปรุงรส อื่นๆเช่นช็อกโกแลตวานิลลากาแฟหรือผลไม้
เช่นสตรอเบอร์รี่ข้าวโพดเผือกเป็น ส่วนประกอบไอศกรีมพรีเมี่ยม มีส่วนผสมของไขมันมากที่สุด ในประเภทของ ไอศกรีมทุกชนิด
การบริโภคไอศกรีมทั่วโลกคิดเป็น 70%ของบริมาณของหวาน แช่แข็งทั้งหมด
           

           2. ไอศกรีมหวานเย็นผสมนม ( Milk lce or lce Milk) มีปริมาณไขมันน้อยกว่า ไอศกรีมมีส่วนผสมของนม น้ำตาลละเครื่องปรุงรสอื่นๆสามารถผลิต ไอศกรีม ชนิดนี้ใด้ทั้งแบบเนื้อนุ่มและแบบเนื้อแข็ง
       

            3.เชอร์เบท (Sherbet) ไม่มีไขมัน มีส่วนผสมสำคัญคือน้ำผลไม้และน้ำตาล มีนมเป็นส่วนประกอบเพียงเล็กนัอย
รสชาติออกเปรี้ยวและหวาน เนื้อไอศกรีม เชอร์เบทเหนียว เนียนละเอียด สีสวยสดใส
             

   4. ซอร์เบท์ (Sorbet) ไม่มีไขมัน มีส่วนผสมสำคัญ คือ ผลไม้(น้ำผลไมัหรือชิ้น เนื้อผลไม้บด) และน้ำตาล
ซอร์เบท์มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุดเนื้อไอศกรีมมี ลักษณะเป็นเกล็ดละเอียด นุ่มได้รสชาติผลไม้เข้มข้น        
    5. ไอศกรีมหวานเย็น (Water Ice) ไอศกรีมหวานเย็น มีส่วนผสมหลัก คือ น้ำตาล น้ำเครื่องปรุงรสและกลิ่น
ไม่มีส่วนผสมของไขมันมีปริมาณน้ำมากที่สุด สีและรส เป็นส่วนผสมสำคัญเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสัน
 และรสชาติที่ต้องการส่วนใหญ่มี ลักษณะ เป็นแท่ง  

                


     6. ไอศกรีมโยเกิร์ต (YhGurt Ice Cream)มีส่วนผสมหลักคือไอศกรีมและโยเกิร์ต ซี่งจะให้รสชาติหวานกลมกล่อม
แบบไอศกรีม และเปรี้ยวเล็กนัอยแบบโยเกิร์ต สามารถผลิตไอศกรีมโยเกิร์ตได้หลากหลายรสชาติเหมือนไอศกรีมทั่วไป
แต่โดย ส่วนใหญ่จะใช้รสชาติผลไม้เป็นหลัก

  


ไอศครีมสไตล์อิตาลี


                                                                ไอศครีมสไตล์อิตาลี  



       



การทำช็อกโกเลตลาวาเค้ก


ประวัติไอศกรีม


                                                                          ประวัติไอศกรีม


            

         จุดเริ่มต้นของไอศกรีมในระดับสากล นายโทมัส อาร์ควินนี่ เล่าว่า การรับประทานไอศกรีมน่าจะเริ่มต้นกันมา
ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโรห์ แห่งอนาจักรโรมันที่ได้พระราชทานเลี้ยงไอศกรีมแก่เหล่าทหารหาญที่
อยู่ในกองทัพของพระองค์ แต่ในขณะนั้นไอศกรีมเกิดจากเป็นการนำหิมะมาผสมเข้ากับน้ำผึ้งและผลไม้ ต่อมาเรียกไอศกรีม
ประเภทนี้ว่า เชอร์เบ็ท(Sherbet)นั่นเอง

ประโยชน์ของเค้ก

                                                            ประโยชน์ของเค้ก       
                               เค้ก เป็นขนมอบที่มีลักษณะ รูปร่าง ตามความต้องการของผู้ผลิต แต่มีส่วนประกอบของแป้งสาลี น้ำตาล
ไข่ นม ไขมัน และสิ่งปรุงแต่งให้เกิดชนิดของเค้ก เช่น ผลไม้ต่าง ๆ ดังนั้นเค้กจึงเป็นขนมที่ให้ประโยชน์กับผู้ บริโภค โดยได้รับสารอาหาร คือ แป้ง น้ำตาล ให้สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท ซึ่งเป็นสารอาหารที่ทำให้เกิดพลังงานแก่ร่างกาย ไข่ นม ให้สารอาหาร โปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สร้างเซลล์เนื้อเยื่อให้กับร่างกาย
เนย ไขมัน ให้สารอาหารไขมัน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยในการหล่อลื่นและทำให้ผิวพรรณสดชื่น
นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันมงคลสมรส วันเกิด ปีใหม่ และสามารถจัด รับประทานเป็นของว่าง พร้อมกับน้ำชาและกาแฟ
            

Cheesecake


                                                                    ชีสเค้ก (Cheesecake)

                           
เป็นขนมที่มีส่วนผสมหลักคือ ครีมขีส ไข่ น้ำตาล นม ผสมให้เข้กัน แล้วนำไปใส่ครัสต์ หรือจานขนมปังอบกรอบบด จริง ๆ แต่ที่ไม่เรียกว่าชีสพายเพราะไม่ต้องนำไปอบ

          

meringue cake

เมอแรงก์เค้ก (meringue cake) 
เค้กกลุ่มนี้ใช้เฉพาะไข่ขาวเพียงอย่างเดียว เนื้อเค้กจะเบาๆ เช่น
 แองเจิลเค้ก
เค้กชิฟฟอน (Chiffon Cake หรือ Combination Type Cake) เค้กที่มีลักษณะผสมของเค้กเนยและเค้กไข่ คือ มีโครงสร้างที่ละเอียดของเค้กไข่ และมีเนื้อเค้กที่มันเงาของเค้กเนย ต่างจากเค้กเนยตรงชิฟฟอนเค้กใช้น้ำมันพืชแทนเนยหรือมาการีนในเค้กเนยและวิธีการทำผสมระหว่างเค้กเนยและเค้กไข่
                                                      

Sponge cake


             เค้กสปองจ์ (Sponge cake) 
เค้กชนิดนี้ขึ้นฟูด้วยไข่ คุณภาพของไข่จะมีผลต่อการทำสปันจ์เค้กมาก ไข่ที่สดและใหม่จะมีความคงตัวกว่า ไข่อุณหภูมิห้องจะตีได้ปริมาณที่มากกว่าไข่ที่เย็น เค้กนี้จะนำส่วนผสมทุกอย่างยกเว้นเนยละลายตีรวมกันโดยเพิ่มสารเสริมคุณภาพ ตีจนส่วนผสมขึ้นฟูจึงใส่เนยละลาย
            

butter cake

       

เค้กเนย (butter cake)
เป็นเค้กที่มีไขมันสูง การขึ้นฟูของเค้กประเภทนี้เกิดจากอากาศที่ได้จากการตีเนยกับน้ำตาล โดยไขมันจะเก็บอากาศไว้ ซึ่งจะขยายตัวในระหว่างการอบ เค้กประเภทนี้ได้แก่ ไวท์เค้ก ช็อกโกแลตเค้ก ฟรุ้ตเค้ก
เค้กไข่ เป็นเค้กที่ไม่มีไขมันในส่วนผสม เนื้อเค้กและปริมาตรของเค้กขึ้นอยู่กับการขยายตัวของไข่ขาวที่นำมาตีจนเป็นฟองซึ่งจะเก็บอากาศเข้าไว้ในระหว่างการตีไข่ ทำให้เค้กขยายตัวหรือขึ้นฟูในระหว่างการอบ การทำเค้กประเภทนี้ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะฟองที่เกิดจากการตีไข่ขาวนั้นอ่อนตัว


   

ที่มาของเค้ก

          
ที่มาของเค้ก   
เค้กถือกำเนิดขึ้นในอียิปต์โบราณ โดยเค้กยุคแรกจะทำโดยใช้เตาหินร้อนๆ ซึ่งใช้ยีสต์เพื่อการขึ้นฟู จนต่อมาส่วนผสมต่างๆ พัฒนาขึ้นมาเลยใช้การตีไข่ให้ขึ้นฟูเพื่อให้เนื้อเค้กเบาขึ้น เค้กเลิกใช้ยีสต์เมื่อศตวรรตที่ 18 คือเมื่อมีเบกกิ้งโซดาเกิดขึ้น ในปี ค ศ. 1840   และผงฟูเกิดขึ้นในปี ค ศ. 1860 พร้อมทั้งเปลี่ยนจากเตาหินมาเป็นเตาไฟฟ้าหรือเตาแก๊สในศตวรรษที่ 19 ประมาณปี คศ. 1900
Cake มีรากศัพท์มาจากภาษาของชาวไวกิ้ง (Old Norse word) ว่า "kaka"
    สำหรับประวัติขนมเค้กในประเทศไทยนั้น ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2480 ขนมเค้กยังไม่เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปมากนัก จะมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับอารยะธรรมตะวันตกหรือใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจ
โดยร้านเบเกอรี่ (bakery) ในกรุงเทพฯ มีอยู่ไม่มากนัก ร้านที่เป็นที่รู้จักย่านถนนเจริญกรุงคือร้านมอนโลเฮียงเบเกอรี่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทำธุรกิจกับต่างประเทศ และการท่องเที่ยวมีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีความต้องการบริโภค ขนมเค้ก ขนมปัง เพสตรี้ เพื่อบริการแก่ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ธุรกิจเบเกอรี่ หรือขนมเค้ก ขนมปัง ขนมคุ๊กกี้ จึงขยายตัวและเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา